แชร์

เลือกระบบพิมพ์แบบไหนให้ได้งานตรงใจ

อัพเดทล่าสุด: 1 พ.ย. 2024
11 ผู้เข้าชม
เลือกระบบพิมพ์แบบไหนให้ได้งานตรงใจ

เลือกระบบพิมพ์แบบไหนให้ได้งานตรงใจ

“งานพิมพ์” นับเป็นสื่อแสดงเนื้อหาที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีสื่อในรูปแบบใหม่อย่างสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิตอลเข้ามาสร้างความสะดวกสบายให้อ่านเนื้อหากันได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงมีอิทธิพลต่อชีวิตเราค่อนข้างมาก ซึ่งเห็นได้จากประเภทสื่อสิ่งพิมพ์มากมายที่เรานิยมใช้งานอยู่บ่อยครั้ง เช่น นามบัตร ใบปลิว แผ่นพับ สมุด หนังสือ ปฏิทิน การ์ดเชิญตามวาระสำคัญ เป็นต้น

ระบบพิมพ์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

การพิมพ์ Inkjet


 ขอบคุณภาพจาก : www.thaiprintingcenter.com



เป็นงานพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet) โดยกระบวนการทำงานหลักคือการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เพื่อสั่งพิมพ์ตัวเครื่องจะคำนวณตำแหน่งจุดของภาพรวม และพ่นสีหมึกที่ประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามรูปแบบไฟล์งานที่ใส่เข้าไป ทำให้ภาพออกมาชัดเจ่นและคมชัด จุดเด่นของ Inkjet คือสามารถสั่งพิมพ์ได้ทั้งงานขนาดเล็กและงานขนาดใหญ่ ไม่จำกัดขนาดบนดระดาษ เหมาะสำหรับนำมาใช้ทั้งงานภายในและงานภายนอกอาคาร เช่นป้าย แบรนด์เนอร์ โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา บิลบอร์ด ตลอดจนงานพิมพ์ตกแต่งตามอีเว้นท์ต่างๆ

การพิมพ์ Offset (ออฟเซ็ต)

 


ขอบคุณภาพจาก : www.thaiprintingcenter.com

 

เป็นงานพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษหรือวัสดุอื่นๆ ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับการพิมพ์ครั้งละมากๆ ต้องการความระเอียดสูงรวมถึงเพิ่มลูกเล่นพิเศษ เช่น เคลือบยูวี เคลือบ PVC เคลือบด้าน เคลือบมัน Di-Cut เป็นต้น สำหรับงานพิมพ์รูปแบบนี้หากยิ่งพิมพ์มากก็จะยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทั่วไปแล้วมักจะพิมพ์ 1,000 ใบขึ้นไป สำหรับงานที่มักใช้ระบบออฟเซ็ต ได้แก่  นามบัตร, ใบปลิว, แผ่นพับ, โปสเตอร์, โปสการ์ด, บัตรเชิญ, แฟ้ม ฯลฯ  ส่วนข้อดีของระบบพิมพ์ประเภทนี้คือภาพมีความละเอียดสวยงาม หากยิ่งสั่งพิมพ์จำนวนมากก็จะยิ่งคุ้มค่าและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือหากพิมพ์จำนวนน้อยจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบพิมพ์ ดิจิตอล


การพิมพ์แบบ ดิจิตอล ออฟเซ็ต (Digital Offset)

ขอบคุณภาพจาก : www.thaiprintingcenter.com



เป็นระบบงานพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์จำนวนน้อยและใช้กระดาษมาตรฐานที่ไม่ใหญ่เกินกว่าขนาด A3  สามารถพิมพ์ตั้งแต่งาน 1 แผ่นได้เลย เหมือนสั่งพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่หากพิมพ์ครั้งละจำนวนมาก เช่น 1,000 แผ่นขึ้นไป ความคุ้มค่าจะไม่ดีเท่าระบบออฟเซ็ต ในทุกวันนี้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบดิจิตอลได้พัฒนาความคมชัดขึ้นจนมีคุณภาพใกล้เคียงกับระบบออฟเซ็ต คุณภาพงานจึงไม่ต่างกันมากนัก หากท่านต้องการความรวดเร็วระบบดิจิตอลย่อมตอบโจทย์ได้ดีที่สุดแน่นอน สำหรับงานพิมพ์ที่นิยมใช้กับ Digital Offset ได้แก่ เอกสาร, รายงาน, ปริญญานิพนธ์, วิทยานิพนธ์, นามบัตร , ใบปลิว เป็นต้น

จากข้อมูลที่แนะนำไปในข้างต้น คงทำให้ท่านทราบข้อดีและข้อเสียของระบบงานพิมพ์ประเภทต่างๆ ไปบ้างแล้ว ซึ่งท่านต้องพิจารณาว่างานที่ท่านต้องการนั้น เหมาะกับระบบพิมพ์แบบใดมากที่สุด เมื่อท่านตัดสินใจใช้ระบบงานพิมพ์อย่างถูกต้อง ก็จะส่งผลให้ได้งานที่มีคุณภาพสวยโดนใจท่าน และช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้วย


ด้วยประสบการณ์ยาวนานมากว่า 20 ปี เราให้บริการงานพิมพ์ทั้งออฟเซ็ท และดิจิตอล พร้อมให้บริการผลิตงานพิมพ์คุณภาพ ตามแบบ และขนาดที่ลูกค้าต้องการ สนใจสอบถามรายละเอียด หรือขอคำปรึกษาได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า เรายินดีให้บริการ

บทความที่เกี่ยวข้อง
ติดอาวุธเพิ่มยอดขาย สร้างแบรนด์สินค้าให้ปัง ด้วยเทรนด์สียอดฮิตแห่งปี  โรงพิมพ์อิงค์ ออน เปเปอร์ พิมพ์หนังสือ พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์
เพราะโลกก้าวเข้าสู่ ดิจิทัล อาวุธที่ทรงพลังเพิ่มยอดขาย สร้างแบรนด์สินค้าให้ปัง สิ่งที่นักการตลาดและนักออกแบบไม่สามารถมองข้ามเครื่องมือเบสิคนี้ได้ คือ การใช้ สี โดยเฉพาะงานพิมพ์หนังสือ พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ ที่จะช่วยเพิ่มความโดดเด่นมีเอกลักษณ์ของแบรนด์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี การสร้างแบรนด์สินค้าให้ปังติดตลาดจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน
การนับสีในงานพิมพ์
การดึงดูดผู้คนให้มีความสนใจในงานพิมพ์ได้นั้น ก็คือสีสันของงานพิมพ์ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่างานพิมพ์ของเรามีกี่สี มีเยอะสีไหม ถ้าส่งไปพิมพ์แล้วจะทำให้ราคางานพิมพ์สูงไหม มาเรียนรู้กันว่าวิธีการนับสีนับกันอย่างไร
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy